วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล

 องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
องค์ประกอบของฐานข้อมูล

          การพัฒนาระบบฐานข้อมูลต้องมีส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันไม่ว่าจะเป็นบุคลากร ฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์ ข้อมูลที่นำมาประมวลผล ทุกส่วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ดัง  -รายละเอียดต่อไปนี้
                       
  • ข้อมูล (Data)
  • บุคลากร (Personal)
  • ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
  • ซอฟต์แวร์ (Software)
บุคลากร (Personal)
บุคลากร หมายถึง บุคคลที่มีตำแหน่งงาน และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ ระบบฐานข้อมูลสามารถ แบ่งออกเป็น
  • ผู้วิเคราะห์และออกแบบระบบ  (DBA : Database Administrator)  ทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบสร้างฐานข้อมูลควบคุมการใช้งานระบบฐานข้อมูลและ ดูแลความปลอดภัยเรื่องของข้อมูล
  • นักพัฒนาโปรแกรม (Application Programmer) ทำหน้าที่พัฒนาโปรแกรมเพื่อเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล
  • ผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล (User) ทำหน้าที่ใช้ระบบฐานข้อมูลที่ผู้วิเคราะห์ ออกแบบระบบและผู้พัฒนาโปรแกรมได้ทำการพัฒนาขึ้น
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
                ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล จะต้องมีการนำข้อมูลต่าง ๆ   เข้ามาจัดเก็บข้อมูล จัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูล ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Database Server) ใช้ในการจัดเก็บฐานข้อมูลเครื่องลูกข่าย (Client) ใช้ในการเรียกใช้ข้อมูลในฐานข้อมูล และอุปกรณ์ทางด้านเครือข่าย เป็นต้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อต้องพัฒนาระบบฐานข้อมูลคือ
  • หน่วยประมวลผลกลางและหน่วยความจำ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ความเร็วในการประมวลผล
  • หน่วยความจำสำรอง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บฐานข้อมูลสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ความจุในการจัดเก็บข้อมูล
ซอฟต์แวร์ (Software)
                องค์ประกอบทางด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลนั้น ประกอบด้วย
  • ซอฟต์แวร์ประยุกต์  (Application  Software)  เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการ สร้าง User Interface เป็นส่วนในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลซอฟต์แวร์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายได้แก่ ภาษา Pascal ภาษา C ภาษา Cobol ฯลฯ ปัจจุบันที่นิยมใช้ได้แก่ ภาษา Delphi ภาษา Visual – Basic เวอร์ชั่นต่าง ๆ เป็นต้น
  • ระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS : Database Management System) ในการพัฒนามีระบบฐานข้อมูลนอกจากจะเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์แล้ว ซอฟต์แวร์ที่จำเป็นก็คือระบบการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างบุคลากรกับฐานข้อมูลในการจัดการกับนี้ข้อมูลในฐานข้อมูล ด้วยการใช้ ภาษา SQL ภาษา Quel ภาษา QBE ระบบจัดการ    -ฐานข้อมูล (DBMS) จะทำหน้าที่ดังนี้

ข้อมูล (Data)

                ข้อมูล หมายถึงข้อมูลที่ได้ทำการจัดเก็บ รวบรวม ด้วยวิธีการจัดเก็บเอกสาร หรือสอบถามข้อมูลจากบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ออกแบบสร้างเป็นฐานข้อมูล ซึ่งมีข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
  • จะต้องเป็นข้อมูลที่สามารถใช้งานร่วมกันได้
  • จะต้องมีความถูกต้อง สมเหตุสมผล และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
  • จะต้องไม่มีความซับซ้อน

หน้าของการจัดการฐานข้อมูล
หน้าที่ของระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS)
  
  1. ทำหน้าที่ในการแปลคำสั่งต่าง ๆ ที่ได้รับจากบุคลากรแต่ละระดับ เพื่อไปทำกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล
  2. ทำหน้าที่เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างฐานข้อมูล
  3. ทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบให้บานข้อมูลทำงานเป็นไปตามกฎที่กำหนดขึ้น ซึ่งกฎเหล่านี้จะถูกกำหนดในส่วนโครงสร้างฐานข้อมูล ซึ่งอยู่ในพจนานุกรมข้อมูล
  4. ทำหน้าที่รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูล ซึ่งจะส่งผลทำให้ข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลไม่เกิดปัญหาการขัดแย้งกันของข้อมูล และเกิดปัญหาความซ้ำซ้อนกันของข้อมูล
        ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาเป็นระบบจัดการฐานข้อมูล  (DBMS) ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะใช้ภาษา SQL, Oracleฯลฯแต่บางซอฟแวร์ก็จะมีระบบการจัดการฐานข้อมูล(DBMS)เป็นของตัวเอง
   เนื่องจากสังคมของเราในปัจจุบันจัดได้ว่า เป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐานของสารสนเทศผู้ที่มีสารสนเทศมากกว่าจะเป็นผู้ที่ได้เปรียบ หมายความว่าข้อมูลซึ่งเป็นที่มาของสารสนเทศเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ สารสนเทศที่ดีต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ และมีความทันสมัย ดังนั้นจึงต้องมีวิธีที่ดีเพื่อจัดการกับข้อมูลและสร้างสารสนเทศที่ดีไว้ใช้งาน
            ปัจจุบันวิธีสร้างสารสนเทศที่นิยมใช้กันมาก   คือการใช้ระบบฐาน ข้อมูลเนื่องจากระบบฐานข้อมูลเป็นระบบที่มีการจัดการที่ดีสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเป็น ระบบและมีประสิทธิภาพสามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการศึกษารายละเอียดของระบบฐานข้อมูลเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติ การออกแบบ และการใช้งานระบบฐานข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็น เพื่อให้ตอบสนองความต้องการในการใช้สารสนเทศขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น